กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) คืออะไร
เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้มีเงินออมสำหรับใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
RMF ให้อะไรคุณได้บ้าง
1) ช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลงจากเดิม*
2) ช่วยให้คุณมีวินัยในการออม เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในช่วงเกษียณอายุ
3) เปิดโอกาสให้คุณมีอิสระที่จะเลือกการลงทุนที่เหมาะกับตัวคุณเอง
* ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด
ผู้ลงทุนจะเสียภาษีน้อยลงก็ต่อเมื่อ เป็นผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน
และเงินบริจาคทั้งปี สูงกว่า 80,000 บาท และมีเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
ในปีนั้นๆ น้อยกว่า 295,000 บาท
RMF ช่วยลดภาษีอย่างไร
ผู้ลงทุนสามารถนำเงินลงทุนใน RMF มาหักออกจากเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายในปีนั้น ตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งมีผลทำให้ฐานเงินได้สุทธิสำหรับการคำนวณภาษีลดลง และส่งผลให้ผู้ลงทุนเสียภาษีน้อยลง
กรณีผู้ลงทุนมีฐานรายได้สูง จะยิ่งมีอัตราการประหยัดภาษีที่สูงขึ้น เนื่องจากระบบการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นแบบอัตราก้าวหน้า (ฐานเงินได้ในส่วนที่มากขึ้น จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นด้วย)
จำนวนเงินลงทุนใน RMF ที่สามารถนำมาหักออกจากเงินได้
กรณีผู้ลงทุนไม่มีเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
ขั้นต่ำ = 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า)
ขั้นสูง = 15% ของเงินได้ทุกประเภท และ ไม่เกิน 300,000 บาท
กรณีผู้ลงทุนมีเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
ขั้นต่ำ = 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า)
ขั้นสูง = 15% ของเงินได้ทุกประเภท และ เมื่อรวมเงินสะสมเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพและ กบข. แล้วไม่เกิน 300,000 บาท
RMF เสี่ยงหรือไม่
RMF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ซึ่งระดมเงินจากผู้ลงทุนจำนวนมาก เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ นโยบาย และระดับความเสี่ยง ที่แต่ละกองทุนกำหนด เช่น
- กองทุนตราสารตลาดเงิน เน้นลงทุนในเงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญา
- ใช้เงิน พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น เป็นต้น
- กองทุนตราสารหนี้ เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน เป็นต้น
- กองทุนตราสารทุน เน้นลงทุนในหุ้น เป็นต้น
ดังนั้น ความเสี่ยงในการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับประเภทกองทุนที่ผู้ลงทุนเลือก ซึ่งผู้ลงทุนสามารถจัดสรรการลงทุนระหว่างกองทุนต่างๆในสัดส่วนที่เหมาะสมกับตนเองที่สุดได้ โดยได้รับคำแนะนำจากผู้วางแผนการลงทุนของบลจ. ทหารไทย
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF
1) ลงทุนขั้นต่ำเป็นจำนวนเงินรวมกันทั้งปีเพียง 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า)
2) ลงทุนขั้นสูงในแต่ละปีภาษีไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ หรือ กบข. แล้ว ไม่เกิน 300,000 บาท
3) คุณสามารถนำเงินลงทุนใน RMF ที่จ่ายจริง ในอัตราที่กฎหมายกำหนด มาหักออกจากเงินได้หลังหัก
ค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลง
4) ลงทุนต่อเนื่องกัน* จนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และ อย่างน้อย 5 ปี (นับวันชนวัน และนับเฉพาะปีที่ลงทุน**) กรณีที่คุณเริ่มลงทุนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี คุณยังต้องลงทุนต่อเนื่องกัน* เป็นระยะเวลาอีกอย่างน้อย 5 ปี ***
5) ในระหว่างปี คุณสามารถเลือกลงทุนกี่ครั้งก็ได้ และไม่จำเป็นต้องลงทุนเท่ากันในแต่ละปี
6) ไม่ควรลงทุนในจำนวนเกินกว่าที่ได้รับสิทธิลดหย่อน (เนื่องจากต้องมีภาระภาษีเกิดขึ้นหากขายในส่วน
นี้แล้วมีกำไร ไม่ว่าจะขายเมื่อใดก็ตาม)
หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะมีผลอย่างไร
1) กรณีเว้นการลงทุน 2 ปีติดต่อกัน (โดยผู้ถือหน่วยมีอายุน้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก)
ชำระคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร/2)
2) กรณีขายคืน RMF ที่เคยได้รับลดหย่อนภาษีมาแล้ว และผู้ถือหน่วยอายุน้อยกว่า 55 ปี บริบูรณ์ จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
กรณีลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
กรณีลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 และต้องนำกำไร(ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
3) กรณีในระหว่างปีผู้ลงทุนขายคืน RMF เป็นจำนวนเงินที่มากกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไปในปีปัจจุบัน หรือขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะลงทุนในปีเดียวกันนั้น
กรณีลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
กรณีลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 และต้องนำกำไร(ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
4) กรณีขายคืน RMF ที่ลงทุนเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
ต้องนำกำไร (ถ้ามี) ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4
/1 ต้องชำระภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนมาแล้ว โดยนับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลง
ทุน และชำระคืนภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุน
/2 เงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระคืน
(เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) นับตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ลงทุน (5 ปีปฏิทินย้อนหลัง) จน
ถึงเดือนที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกิน
จำนวนภาษีที่ต้องชำระคืน
/3 เบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือ 26 แห่งประมวลรัษฎากร
/4 ภาษีของกำไรนี้ จะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆที่ได้รับในปีภาษีนั้น โดยยื่นในแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ขาย
LTF คืออะไร
LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนรวมแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุนนำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
LTF มีที่มาจากแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ที่มีเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ เพราะเชื่อว่าหากต้องการให้ตลาดหุ้นของไทยมีเสถียรภาพมากขึ้นจำเป็นต้องมีสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันในประเทศที่มีคุณภาพ (ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่ากองทุนรวม) มากกว่าปัจจุบัน จึงจะทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยไม่ผันผวนตามแรงซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนรายย่อยมากจนเกินไป และทำให้เกิดเสถียรภาพในระบบตลาดทุนไทยในที่สุด
ด้วยเหตุนี้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2547 จึงกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาวขึ้น โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อจูงใจให้เกิดการลงทุนในกองทุน LTF
สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุน
เงินลงทุนใน LTF สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15%ของรายได้ในแต่ละปีแต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ซื้อปีไหนก็ใช้ลดหย่อนภาษีของปีนั้น ส่วนจะประหยัดภาษีได้เท่าไร ก็ขึ้นกับฐานภาษีของแต่ละคน ยิ่งฐานภาษีสูงมากก็ยิ่งประหยัดได้มาก
LTF กับการลงทุนในหุ้นเนื่องจาก LTF เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันในตลาดหุ้น LTF จึงถูกกำหนดให้เป็นกองทุนหุ้นที่ต้องลงทุนในหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ mai เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ65 ในรอบปีบัญชี และผู้ลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 5 ปีปฏิทิน จึงจะถอนได้โดยไม่ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีรู้จัก LTF แบบต่างๆ ก่อนลงทุน
แม้ว่า LTF ทุกกองทุนจะเน้นลงทุนในหุ้นเหมือนๆ กัน แต่ที่ผ่านมากลับให้ผลตอบแทนที่ไม่เท่ากัน เพราะแต่ละกองทุนล้วนมีความแตกต่างทั้งรูปแบบกองทุน ลักษณะของหุ้นที่ลงทุน และฝีมือการบริหารของผู้จัดการ ดังนั้นก่อนที่จะเลือกลงทุนใน LTF ผู้ลงทุนควรทำความรู้จักกับ LTF กองทุนนั้นๆ ให้ดีเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร นโยบายตรงกับความต้องการของเราหรือไม่
ประเภทของ LTF
แบ่งตามสัดส่วนการลงทุน -- วิธีนี้แบ่งได้ 3 กลุ่ม
1.LTF ที่ลงทุนในหุ้นเต็มที่แบบกองทุนหุ้น – กลุ่มนี้ผู้จัดการกองทุนจะบริหารกองทุน LTF ของตนเหมือนกับกองทุนหุ้นและลงทุนเต็มที่ในหุ้นเพื่อสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนมากที่สุดภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
2. LTF ที่ลงทุนในหุ้นบางส่วนและกำหนดสัดส่วนไว้ชัดเจน – กองทุน LTF ในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มแรก เพราะเงินที่มีจะถูกนำไปลงทุนในหุ้นเพียงบางส่วนและบอกให้ผู้ลงทุนรู้ว่าจะลงทุนกี่เปอร์เซ็นต์ เช่น ลงทุนในหุ้นเพียง70% อีก 30% ลงทุนในตราสารหนี้ ทำให้มีความผันผวนน้อยกว่า ทั้งขาขึ้นและขาลง เหมาะสำหรับผู้ต้องการลงทุนในระดับความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้นทั่วไปแต่ ยอมรับโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนน้อยลงได้ 3. LTF ที่ลงทุนในหุ้นเพียงบางส่วนแต่ไม่กำหนดสัดส่วนที่ชัดเจน – LTF กลุ่มนี้จะคล้ายกับกลุ่มที่2 คือเงินที่มีในกองทุนจะลงทุนในหุ้นเพียงบางส่วนแต่ไม่กำหนดชัดเจนว่าเท่าไร LTF มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มแรก กลุ่มนี้จะมีเป้าหมายในการดูแลรักษาเงินต้นของผู้ลงทุนไม่ให้ขาดทุนมากกว่ามุ่งหาผลตอบแทน เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการให้เงินต้นไม่ขาดทุนมากกว่าเน้นเรื่องผลตอบแทน
แบ่งตามนโยบายการจ่ายปันผล – 2 กลุ่ม
- LTF ที่มีนโยบายการจ่ายปันผล – กลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยากได้เงินกำไรคืนบ้างระหว่างการลงทุน แต่เงินปันผลที่ได้จะต้องเสียภาษี
- LTF ที่ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล – กลุ่มนี้เหมาะสำหรับผู้ไม่ต้องการเสียผลประโยชน์จากภาษีเงินปันผล โดยยอมที่จะไม่รับผลตอบแทนคืนระหว่างลงทุน
แบ่งตามนโยบายการลงทุน – 2 กลุ่ม
- LTF ที่บริหารเชิงรุก – ผู้จัดการกองทุนจะเน้นบริหารให้ได้ผลตอบแทนเต็มที่ มีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนให้สูงที่สุด ภายใต้ความเสี่ยงที่ประเมินแล้วยอมรับได้ เหมาะสำหรับผู้ต้องการลงทุนในหุ้นที่เชื่อในความสามารถการคัดเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุนLTF ที่บริหารเชิงรับ หรือ LTF ที่เป็นกองทุนรวมดัชนี – ผู้จัดการกองทุนจะบริหาร LTF ให้ได้ผลตอบแทนขึ้นลงตามการขึ้นลงของดัชนีอ้างอิง เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่เชื่อว่าผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิงจะเพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่ลงทุน โดยไม่ต้องการเสี่ยงกับการบริหารและการเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุน
แบ่งตามนโยบายการเลือกหุ้นลงทุน
วิธีนี้ทำให้แบ่ง LTF ได้หลากหลายขึ้นกับว่ากองทุนมีแนวทางการเลือกหุ้นลงทุนอย่างไร บางกองทุนไม่กำหนดลักษณะของหุ้นที่จะลงทุนแน่นอนและปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ บางกองทุนกำหนดไว้เลยว่าจะเน้นลงทุนในหุ้นบริษัทขนาดใหญ่มี Market Cap. สูง หรือขนาดเล็ก เลือกลงทุนเฉพาะหุ้นในกลุ่ม SET50 หรือบางกองทุนเลือกหุ้นลงทุนไม่เกิน 10 ตัว เป็นต้น ซึ่งกองทุนไหนจะเหมาะกับใครก็ขึ้นกับความชอบของผู้ลงทุนแต่ละคน
ทำไมต้องซื้อ LTF
สิ่งหนึ่งใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามไปก็คือการลงทุนใน LTF เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ไกลตัว หรือมีความเข้าใจในเรื่องการลงทุนในหุ้นที่น้อย แต่ไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตามที่ LTF กลับเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรมองข้าม คุณควรปฏิบัติการลงทุนด้วยเหตุผลก็คือผู้ที่ลงทุนใน LTF ได้รับสิทธิประโยชน์อันสำคัญจากรัฐ คือ การลดหย่อนภาษี ซึ่งมีประโยชน์แฝงอยู่ที่หลาย ๆ คนอาจคิดไม่ถึง ภาษีที่คุณได้ลดหย่อนมากขึ้นนั้นกลับแปรเปลี่ยนเป็นอะไรหลาย ๆ อย่างที่คุณต้องการ ใฝ่ฝัน หรือปรารถนา อาทิ นำไปใช้ในการเดินทางท่องเที่ยว UNSEEN THAILAND นำไปต่อยอดการลงทุนไว้สำหรับการเกษียนในภายภาคหน้า หรือแปรเปลี่ยนเป็นค่าเทอมลูกจากโรงเรียนธรรมดาเป็นโรงเรียนอินเตอร์ ประโยชน์ต่อมาก็คือ เงินลดหย่อนที่คุณได้รับเสมือนกับการที่คุณซื้อหุ้นได้ในต้นทุนที่ต่ำกว่าคนอื่น ( หรือที่ภาระการเงินเรียกว่าซื้อที่ price-earning ratio (P/E RATIO) ที่ต่ำกว่า
คนอี่น) โอกาสกำไรจากการลงทุน (CAPITAL GAIN) ในอนาคตจึงมากกว่าผู้ที่ลงทุนในรูปแบบปกติ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณได้ลดหย่อนภาษี 30% หรือเมื่อคำนวณออกมาแล้วสามารถประหยัดภาษีได้ 67,500 บาท นั้น คุณก็เสมือนซื้อหุ้นพื้นฐานดี อาทิ หุ้นปตท. ได้ในราคาที่ถูกกว่าคนอื่น 67,500 บาท โอกาสกำไรจึงมากกว่า ขณะเดียวกัน โอกาสขาดทุนก็ต่ำลงไปพร้อม ๆ กัน
ผลตอบแทนจากการลงทุน
ใน LTF เป็นช่องทางการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนแบบอื่น เพราะนโยบายของ LTF ก็คือลงทุนในหุ้น จากข้อมูลผลตอบแทนของการลงทุนในทรัพย์สินต่างๆ ของประเทศไทย ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา (2518-2548) การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนสูงถึงร้อยละ 12 ต่อปี แม้ว่าในช่วงปี 2540-2544 จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทำให้ราคาหุ้นลดลงอย่างมาก ส่วนพันธบัตรในช่วงเดียวกันให้ผลตอบแทนร้อยละ 10 ต่อปีทั้งที่ไม่ได้รับผลกระทบจากช่วงวิกฤติเศรษฐกิจมากนักเพราะเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนคงที่ ส่วนเงินฝากธนาคารให้ผลตอบแทนร้อยละ 7 ต่อปี และทองคำให้ผลตอบแทนเพียงร้อยละ 3 ต่อปี
การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar Cost Averaging คืออะไร
การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน คือ วิธีการลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าให้นักลงทุนระยะยาว ช่วยลดความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่ดี วิธีนี้นักลงทุนต้องสร้างวินัยการลงทุนให้ตนเอง ลงทุนในหลักทรัพย์เป็นประจำสม่ำเสมอ ตามช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ทุกวันที่ห้าของเดือนจะซื้อกองทุนหุ้นกองหนึ่ง หรือซื้อหุ้นกลุ่มหนึ่งเป็นจำนวน 5,000 บาท โดยไม่สนใจว่าราคาหุ้นในตอนนั้นเป็นเท่าไหร่ จะขึ้นหรือตก
ผลการศึกษาในการลงทุนอย่างต่อเนื่องใน SET index ทุกเดือนเป็นเวลา 4 ปี นับจาก มกราคม 2545 ถึง ธันวาคม 2548 นั้นการลงทุนแบบเฉลี่ยซื้อได้รับผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในช่วงปลายปี ปีละครั้งถึงร้อยละ 8.27 เลยทีเดียว รวมถึงสูงกว่าการลงทุนที่ซื้อไตรมาสละครั้ง ร้อยละ 2.65 หรือ ครึ่งปีครั้ง ร้อยละ 4.07 อีกด้วย
ประหยัดภาษี
LTF เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้น้อยลง และเป็นช่องทางช่องทางการประหยัดภาษีที่มีข้อได้เปรียบมากกว่าการประหยัดภาษีแบบอื่น คือ
- ไม่ต้องลงทุนยาวนานลงทุนเพียง 5 ปีปฏิทินก็สามารถไถ่ถอนคืนได้ หรือถ้าอยากลงทุนต่อก็ทำได้
- ไม่มีข้อผูกพันว่าต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ถ้าต้องการลดหย่อนภาษีปีไหนก็ค่อยลงทุนปีนั้น
- มูลค่าที่สามารถลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 15%ของรายได้สูงสุดถึง 500,000 บาทต่อปี ดังนั้นใครที่เสียภาษีในอัตราที่สูงก็จะยิ่งได้ประโยชน์จาก LTF
Exchange Traded Fund (ETF) คือ กองทุนเปิดที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซื้อขายสะดวกเหมือนหุ้น แต่กระจายความเสี่ยงเหมือน Index Fund ที่เสียค่าบริหารจัดการต่ำกว่ากองทุนอื่นๆ กองทุน ETF สามารถอ้างอิงสินค้าได้หลายประเภท เช่น ดัชนีราคาหลักทรัพย์ (Equity ETF) ดัชนีราคาตราสารหนี้ (Bond ETF) และ ดัชนีราคาทองคำ (Gold ETF)
โดย ETF มีลักษณะสำคัญดังนี้
- ทำการซื้อขายได้ real time ผ่านโบรกเกอร์เท่านั้น เสมือนเป็นหุ้นๆ หนึ่ง
- ผลตอบแทนของ ETF จะใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง
- สินทรัพย์ที่กองทุนถือ เป็นพอร์ตการลงทุนในดัชนีอ้างอิง
- ไม่มีกำหนดอายุโครงการ
- มีคุณสมบัติพิเศษที่ส่งเสริมการทำ market making และ arbitrage ส่งผลให้ราคาซื้อขายของหน่วยลงทุนใกล้เคียงกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วย (Intraday Indicative Value: IIV)
- ซื้อ ETF 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อสินทรัพย์อ้างอิงหลายตัวพร้อมกัน
- ETF ช่วยกระจายความเสี่ยงการลงทุนในราคาสินค้าอ้างอิงหลายตัว หรือ ราคาหุ้นหลายตัว และหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น พลังงานและสาธารณูปโภค, ธนาคาร, วัสดุก่อสร้าง, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ขนส่งและโลจิสติกส์ ฯลฯ
- ETF สามารถซื้อง่าย ขายคล่อง เหมือนหุ้น และสามารถซื้อขายได้ที่ทุกโบรกเกอร์ โดยมีขั้นตอนการซื้อขายและใช้บัญชีซื้อขายเหมือนหุ้นปกติ
- ETF โปร่งใส มีการประกาศสัดส่วนการลงทุนทุกวัน (PDF)
- ผู้ลงทุนทราบมูลค่าอ้างอิงของ ETF ได้จากค่า IIV (Intraday Indicative Value) ที่คำนวณจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหุ้น โดยผู้จัดการกองทุนทำการคำนวณและเผยแพร่ IIV เป็นราย 30 วินาที
ผู้ลงทุนใน ETF จะมีโอกาสได้รับผลตอบแทน 2 แบบด้วยกัน
เงินปันผล (Dividend) : ผู้ลงทุนมีโอกาสได้รับเงินปันผล เมื่อหุ้นอ้างอิงในกองทุนจ่ายเงินปันผล เพื่อทำให้มูลค่าของหุ้นอ้างอิงใกล้เคียงกับราคากองทุนมากที่สุด ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะไม่ทำให้กองทุนมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในงวดบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้น
ประโยชน์ต่อผู้ลงทุนรายย่อย
เป็นทางเลือกใหม่ในการลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงโดยใช้เงินลงทุนที่ไม่สูงมากนัก และเสียค่าธรรมเนียมตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค่อนข้างต่ำ ดังนั้น ETF จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯมาก่อน
ประโยชน์ต่อผู้ลงทุนสถาบัน
ผู้ลงทุนสถาบันสามารถใช้กลยุทธ์การลงทุนใน ETF แบบ core/satellite investment strategy โดยลงทุนใน ETF ซึ่งมีนโยบายลงทุนตามดัชนีอ้างอิง เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับดัชนีอ้างอิง (portfolio’s performance vs. benchmarks) และส่วนที่เหลือผู้ลงทุนสถาบันสามารถจะลงทุนในหุ้นรายตัว (individual stock) เพื่อหาผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ผู้ลงทุนมีเม็ดเงินลงทุนใหม่เพิ่งเข้ามา แต่ผู้ลงทุนยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกลงทุนในหุ้นตัวใด การลงทุนใน ETF เอาไว้ก่อนก็จะช่วยให้ผลการดำเนินงานของพอร์ตการลงทุนไม่เบี่ยงเบนไปจาก benchmarks มากจนเกินไป
อนึ่งผู้ลงทุนสถาบันยังสามารถใช้ ETF เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงได้อีกด้วย
ความแตกต่าง | ETF | กองทุนรวม |
ตลอดเวลาทำการ | สิ้นวันทำการ | |
โบรกเกอร์ทุกแห่ง | บลจ. หรือ ตัวแทนจำหน่าย | |
ได้ | ไม่ได้ | |
ได้ | ไม่ได้ | |
ต่ำ (~0.40 – 0.55 % ต่อปี) | ต่ำ – ปานกลาง (~0.55 - 0.70 % ต่อปี | |
เหมาะสม | เหมาะสม |
ผู้ลงทุนสามารถซื้อขาย ETF กับ KGI ได้หลายวิธี ได้แก่
ETF เป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย ETF สามารถซื้อขายได้เหมือนหุ้น นอกจากนี้ผู้ลงทุนยังสามารถซื้อขาย ETF กับโบรกเกอร์ได้ทุกราย
ลูกค้า : | ทุกประเภท |
วิธีซื้อขาย : | ซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ |
ซื้อขายขั้นต่ำ : | หน่วยการซื้อขาย (100 หน่วย) |
เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อขาย ETF จำนวนมาก ตั้งแต่ 1 Creation Unit (CU) ขึ้นไป โดยผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการต่อรองเพื่อตกลงซื้อขาย ETF แล้วจึงทำการบันทึกรายการซื้อขายนั้นเข้ามาในระบบ Put-through
ลูกค้า : | ทุกประเภท |
วิธีซื้อขาย : | Put-through |
ซื้อขายขั้นต่ำ : | 1 CU และ/หรือ เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณของ 1 CU |
เหมาะกับผู้ลงทุนที่ต้องการสั่งซื้อ (Create) ETF จำนวนมาก ตั้งแต่ 1 CU ขึ้นไป โดยผู้ลงทุนจะต้องชำระค่าสั่งซื้อ ETF ให้แก่ KGI ด้วยตระกร้าหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นที่อยู่ในดัชนีอ้างอิง และเงินสดตามจำนวนที่ผู้จัดการกองทุนได้ประกาศทุกวัน (Portfolio Depository File : PDF)
และในทางกลับกัน ผู้ลงทุนที่ต้องการขายคืน (Redeem) ETF จำนวนมาก ตั้งแต่ 1 CU ขึ้นไป KGI จะชำระค่าขายคืน ETF ให้แก่ผู้ลงทุนด้วยตระกร้าหลักทรัพย์ที่ประกอบด้วยหุ้นในดัชนีอ้างอิง และเงินสดตามจำนวนที่ผู้จัดการกองทุนได้ประกาศทุกวัน (PDF)
ลูกค้า : | ลูกค้านิติบุคคล |
การสั่งซื้อ (Creation) : | นำ PDF มาแลกเป็น ETF |
การขายคืน (Redemption) : | นำ ETF มาแลก PDF คืน |
สั่งซื้อ / ขายคืนขั้นต่ำ : | 1 CU และ/หรือ เพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณของ 1 CU |
ค่าธรรมเนียม : | 0.05 % ของมูลค่า 1 CU |